top of page

Main Components in Cold Room
อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น

Picture1e42.png

คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )

ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซความดันและอุณหภูมิต่ำจากอิแวบโพเรเตอร์หรือคอยล์เย็นที่ผ่านเข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดก๊าซนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งเข้าไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วยการระบายความร้อนออกจากสารความเย็นอีกทีหนึ่ง จะเห็นได้ว่าคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างความดันของระบบจากด้านความดันต่ำไปยังความดันสูง โดยจะต้องใส่พลังงานให้กับคอมเพรสเซอร์

การแบ่งประเภทจะพิจารณาตามโครงสร้างของคอมเพรสเซอร์และอุปกรณ์ขับเคลื่อน แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

 

 

1. คอมเพรสเซอร์แบบเปิด (Open type Compressor) 

 

 

คอมเพรสเซอร์แบบที่ตัวขับซึ่งอาจเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์และตัวคอมเพรสเซอร์ถูกแยกเป็นอิสระต่อกัน

 

2. คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด (Semi- Hermetic Compressor) 

 

 

คือแบบที่ตัวคอมเพรสเซอร์และตัวขับจะถูกประกอบอยู่ในโครงสร้างเดียวกัน

 

3. คอมเพรสเซอร์แบบหุ้มปิด (Hermetic Compressor) 

 

 

 

 

 

คือแบบที่ตัวคอมเพรสเซอร์และตัวขับจะถูกประกอบอยู่ในโครงสร้างเดียวกัน และถูกเชื่อมปิดสนิท

Pictur434234e1.png
Pictfwfwrure1.png
Pictu4324234re1.png

ดูข้อมูลสินค้า คอมเพรสเซอร์ ได้ที่ :

คอนเดนเซอร์ ( Condenser )

คอนเดนเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบทำความเย็น

ทำหน้าที่ระบายความร้อนของระบบ

การจำแนกตามวิธีระบายความร้อน แบ่งคอนเดนเซอร์ออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser) 

2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)

Pictfdsggsgure1.png
Picture4234551.png

ดูข้อมูลสินค้า คอยล์ร้อน คอยล์เย็น คอนเดนซิ่งยูนิต ได้ที่ :

คอยล์เย็น (Evaporator)

 

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นจากของของเหลวกลายเป็นแก๊ส เมื่อสารทำความเย็นถูกลดความดันฉีดเข้ามาในอีแวปปอเรเตอร์ก็จะเกิดการเดือดและระเหยกลายเป็นแก๊ส ในการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นจะดูดเอาความร้อนจากอากาศที่อยู่รอบ ๆ ทำให้บริเวณนั้นเย็น

Picture43242341.png

แอกแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) 

 

ทำหน้าที่ลดความดันของน้ำยาลง นอกจากนี้วาวล์ยังทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำยา

ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิความเย็นที่ต้องการ

Picturegsdgsg1.png

ดูข้อมูลสินค้า แอกแปนชั่นวาล์ว ได้ที่ :

อุปกรณ์อื่นๆ

รีซีพเวอร์ (liquid receiver)

ทำหน้าที่เก็บสารทำความเย็นเหลวที่ควบแน่นจากคอนเดนเซอร์

ออยเซฟ (Oil separator)

ทำหน้าที่แยกน้ำมันหล่อลื่นที่ปนออกมากับสารทำความเย็นให้กลับที่คอมเพรสเซอร์

แอคคิวมูเลเตอร์ (Accumulator)

ทำหน้าที่ป้องกันสารทำความเย็นสถานะของเหลวเข้าคอมเพรสเซอร์

โซลินอยด์วาล์ว ( Solenoid Valve)

ทำหน้าที่ปิดเปิดน้ำยาทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น

ไซกลาส (Sight Glass)

ทำหน้าที่วัดความชื้นของระบบและดูปริมาณน้ำยาทำความเย็นของระบบ

เช็ควาล์ว (Check Valve)

ทำหน้าที่กันน้ำยาทำความเย็นไหลกลับเข้าคอมเพรสเซอร์

ดรายเออร์ (Filter Drier)

ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งสกปรกและความชื้นเข้าอุปกรณ์ลดความดันและคอยล์เย็น

เซฟตี้วาล์ว (Safety Valve)

ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นที่มีความดันสูงกว่าปกติในสถานะก๊าช เพื่อความปลอดภัยกับอุปกรณ์ต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม ความรู้ก่อนติดตั้งระบบทำความเย็น ได้ที่ :

บทความแนะนำ

Picture 4.jpg

เปลี่ยนห้องในบ้าน
ให้เป็นห้องเย็นขนาดเล็ก

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและต้องการสร้างห้องสำหรับจัดเก็บสินค้าด้วยระบบทำความเย็น คุณสามารถเปลี่ยนห้องในบ้านให้เป็นห้องเย็น

Picture1e42.png

Main Components

อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และถูกแบ่งประเภทออกอย่างไร สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

Picture%201_edited.jpg

ก่อนติดตั้งห้องเย็น
ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ทำความรู้จักประเภทห้องเย็น ห้องแช่แข็ง เลือกติดตั้งกับผู้ที่เชี่ยวชาญ ระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็งและอุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง

bottom of page